เทศบาลตำบลชนบท
อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
https://www.cnb.go.th
นายอยุธย์  กุมภิโร
นายอยุธย์ กุมภิโร
ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่ นายกเทศมนตรีตำบลชนบท
ข้อมูล เทศบาล
บุคลากร
ข้อมูล การดำเนินงาน
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
online ขณะนี้
   คน
สถิติวันนี้
8   คน
สถิติทั้งหมด
56472   คน
เริ่มนับวันที่ 23 กุมภาพันธุ์ 2564

อำนาจหน้าที่ 

อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของเทศบาลตำบลชนบท

 

เทศบาลตำบลชนบทมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงาน ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติเทศบาล  พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติกำหนดและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนี้

 

1. อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ที่เทศบาลตำบลต้องทำ ได้แก่
(1) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(2) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
(3) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการ กำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
(5) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
(6) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
(7) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(8) บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของทั้งถิ่น
(9) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

 

2. อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ที่เทศบาลตำบลอาจจัดกิจกรรมใด ๆ ในเขตเทศบาล ได้แก่
(1) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
(2) ให้มีโรงฆ่าสัตว์
(3) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
(4) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
(5) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
(6) ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
(7) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(8) ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
(9) เทศพาณิชย์

 

3. และหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจและหน้าที่ ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้
(1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
(2) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำและทางระบายน้ำ
(3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
(4) การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น ๆ
(5) การสาธารณูปการ
(6) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
(7) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
(8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
(9) การจัดการศึกษา
(10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และ ผู้ด้อยโอกาส
(11) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
(13) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
(14) การส่งเสริมกีฬา
(15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
(16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
(17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(18) การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
(19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
(20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
(21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
(22) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
(23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณอื่น ๆ
(24) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ และ
สิ่งแวดล้อม
(25) การผังเมือง
(26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
(27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
(28) การควบคุมอาคาร
(29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยใน
ชีวิตและทรัพย์สิน
(31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

 

 

 

 

 

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

หน้าที่และบทบาทของเทศบาลในการพัฒนาเมือง

1. ความสำคัญของการพัฒนาเมือง
     1) ประเทศไทยมีพื้นที่เขตเมือง (กทม. เมืองพัทยา เทศบาล) จำนวน 65,705.8 ตารางกิโลเมตรคิดเป็นร้อยละ 12.3 ของพื้นที่ประเทศไทย (532,863.81 ตารางกิโลเมตร) 
     2) มีประชากรอาศัยอยู่ในเขตเมืองจำนวน 18.2 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 29.7 ของประชากรทั่วประเทศ 61 ล้านคน) 
     3) เขตเมืองเป็นศูนย์กลางความเจริญเติบโตในด้านต่างๆของประเทศซึ่งปัจจุบันเกิดปัญหาการขยายตัวอย่างไร้ทิศทางไม่เป็น ระบบ ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานและคุณภาพของชีวิตของประชาชน หากไม่แก้ไขหรือเตรียมการรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะเกิดเสื่อมโทรมและส่งผลกระทบต่อไปในการพัฒนาประเทศ

2. บทบาทของเทศบาลในการพัฒนาเมือง 
     บทบาทของเทศบาลในการพัฒนาเมือง ควรเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนพัฒนาเทศบาลและนำแผนไปสู่การปฏิบัติให้ครอบคลุมทุกสาขากองการพัฒนาให้เป็นไป 
ตามแนวทางของแผนพัฒนาสมบูรณ์ (Comprehensive Development Plan) และมีการบรูณาการ (Integration) ใน 5 สาขา ดังนี้ 
     2.1 สาขาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานได้แก่ การพัฒนาซึ่งครอบคลุมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพและลักษณะ ทางกายภาพ การปรับปรุงพื้นที่และก่อสร้างโดยเทศบาลควรเน้นแผนงานด้านการพัฒนาใช้ที่ดินมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการพัฒนาที่ผ่านมายังขาดการชี้นำการใช้ที่ดินที่มีประสิทธิภาพ เกิดการพัฒนาเมืองอย่างไร้ทิศทางมีการใช้ที่ดินประเภท ต่างๆ ปะปนกันอย่างไม่เป็นระเบียบ ดังนั้นเทศบาลจึงควรให้ความสำคัญกับการวางผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ การจัดทำผังกายภาพ และการจัดระเบียบชุมชน (Zoning) 
     2.2 สาขาการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ การพัฒนาเมืองในด้านกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน อันจะเป็นการส่งเสริม ความสวยงาม เสริมสร้างบรรยากาศแห่งความน่าอยู่อาศัยของเมืองและมีทรัพยากรธรรมชาติใช้อย่างไม่รู้หมดสิ้นแนวทางดำเนินการ พัฒนาสาขานี้ ได้แก่ การวางแผนระบบขยะมูลฝอย การกำจัดขยะมลพิษทางอากาศ เสียง ขยะ อันตราย ฯลฯ 
     2.3 สาขาการพัฒนาสังคม แนวทางดำเนินการพัฒนาสาขานี้ ได้แก่ การดำเนินการด้านการสาธารณสุขสำหรับผู้ด้อยโอกาสใน เขตเมือง การสงเคราะห์คนพิการ เด็ก สตรี และคนชรา การสนับสนุนโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรคการป้องกันแบะบำบัดรักษา ผู้ติดยาเสพติด กองทุนพัฒนาชุมชนเมืองการจัดทำแผนปฏิบัติการชุมชน การประสานการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล รวมทั้งการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล รวมทั้งการดำเนินการ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชนและ ชุมชนสนใจ ในกิจกรรม ที่เป็นประโยชน์ มีพลานามัยที่สมบูรณ์ จิตใจงามห่างไกลยาเสพติด โดยเทศบาลมีทบบาทสำคัญในการจัดสร้าง สวนสาธารณะ สถานที่อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและเยาวชนมาออกกำลังกายร่วมกัน หรือจัดกิจกรรมทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์จัดกิจกรรม กีฬา
      สำหรับบทบาทของเทศบาลในการสนับสนุนนโยบายจัดระเบียบสังคมนั้นขอเรียนว่าเทศบาลสามารถช่วยสนับสนุนการดำเนินการได้มาก โดยดำเนินการตามระเบียบกฎหมายที่มีอยู่ เช่น การปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับสถานบริการตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ 2509 อย่างจริงจังในเรื่องอาคารสถานที่ พ.ร.บ ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ 2493 ในเรื่องการอนุญาตให้ใช้ เครื่องขายเสียง การเคร่งครัดในการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้องของบ้านเมือง พ.ศ 2535 รวมทั้งในฐานะพนักงานท้องถิ่น ตามกฎหมายเหล่านี้เป็นสิ่งที่เทศบาลมีอำนาจอยู่แล้ว เพียงแต่นำมาปฏิบัติโดยเคร่งครัด ก็จะช่วยทำให้ชุมชนของท่านมีคุณภาพชีวิตที่ดี 
     2.4 สาขาการพัฒนาเศรษฐกิจเทศบาลควรกระทำเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ และการประกอบธุรกิจ ประเภทต่างๆ ให้ดำเนินไปด้วยความเข้มแข็งมั่นคงและขยายตัวออกไปรองรับ การเพิ่มขึ้นของประชากร และวิถีธุรกิจใหม่ๆ โดยมีแนวทาง การดำเนินงาน อาทิ เช่นแผนงานหลักโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดบริการสาธารณะ ร่วมกันขององค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่น (Syndicate) การเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามีส่วนร่วม ในการดำเนินกิจการ สาธารณะของเทศบาล (Privatization) โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์โครงการธนาคารประชาชน
     2.5 สาขาการพัฒนาการเมือง – การบริหาร ได้แก่ การพัฒนาที่ครอบคลุมถึงการพัฒนาเทศบาลให้เป็นสถาบันปกครองท้องถิ่น ในระบอบประชาธิปไตยที่มีความมั่นคง และมีคุณค่าต่อประชาชน ตลอดจนปรับปรุงและจัดระบบการบริการ ให้สามารถอำนวยบริการ ให้แก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โครงการบริหารประชาชนโดยไม่หยุดพักกลางวัน การประชาสัมพันธ์ผลการพัฒนาของ เทศบาล การส่งเสริม การบริหารจัดการที่ดี (Good Governance) การดำเนินโครงการประเทศใสสะอาด การฝึกอบรม พัฒนาบุคคลกรของเทศบาลให้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์เพิ่มขึ้น เพื่อที่จะสามารถปรับปรุงให้บริการสาธารณะในพื้นที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ข้อเสนอแนะในบทบาทของเทศบาลในการพัฒนาเมือง 
     3.1 เน้นการจัดทำแผนพัฒนาเมืองอย่างเป็นระบบในการครอบคลุมสาขาพัฒนาทุกด้าน 
และจัดทำงบประมาณตามแผนพัฒนาที่ได้กำหนดไว้ 
     3.2 ผู้บริหารท้องถิ่นต้องเป็นผู้ประสานงานที่ดีกับส่วนราชการต่างๆ ที่เข้ามาร่วมกันดำเนินการพัฒนาเมืองในเขตพื้นที่ เช่น ประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ โรงเรียน โรงพยาบาล เพื่อให้การจัดทำแผนมีการประสานงานอย่างสอดคล้องกัน 
     3.3 ท้องถิ่นแต่ละแห่งจะต้องประสานงานอย่างสอดคล้องกันร่วมกันภายในเขตจังหวัดและระหว่างจังหวัด ได้แก่ 
          – การจัดทำโครงสร้างพื้นฐานติดต่อกันในลักษณะเครือข่ายเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวพัฒนาเส้นทางการคมนาคม 
          – การจัดทำโครงการบำบัดขยะและน้ำเสียร่วมกัน 
          – จัดทำโครงการส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนให้ครบวงจรตั้งแต่แหล่งผลิต และแหล่งขายสินค้า 
          – การพัฒนาระบบและกระบวนการบริหารงาน โดยเทศบาลที่มีความพร้อมจะต้องช่วยเหลือสนับสนุนให้ท้องถิ่นอื่นมีขีดความสามารถในการบริหารงานให้สูงขึ้น 
     3.4 ผู้บริหารท้องถิ่นจะต้องแสวงหาความร่วมมือจากประชาชนในท้องถิ่นมากขึ้น เพราะการพัฒนาในเขตชุมชนนั้น จำเป็นจะต้องมีการจัดระเบียบในด้านต่างๆ อันเป็นการจำกัดสิทธิของประชาชน เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม เช่น การประกอบกิจการค้าอันเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การควบคุมการใช้เสียงในที่สาธารณะ การจัดระเบียบการจราจร การจัดสถานที่ขายของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย การจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาติประเภทต่างๆ เป็นต้น โดยมีวิธีการแสวงหาความร่วมมือจากประชาชนได้นี้ 
          – การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารท้องถิ่นของตนเองโดยการจัดทำแผนพัฒนาร่วมกัน ตั้งแต่ในระดับชุมชน 
          – การให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารโครงการที่จำเป็นในเขตชุมชน เช่น การสำรวจผู้ยากจน การจัดสภาพแวดล้อมของชุมชน โดยใช้งบประมาณของเทศบาล การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ แผนพัฒนาของเทศบาล งบประมาณรายจ่ายประจำปี และผลการใช้จ่ายในแต่ละปีงบประมาณ 
          – การสำรวจความคิดเห็นในโครงการพัฒนาของเทศบาลที่อาจจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน 
          – การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์รายงานผลงานของเทศบาลให้ปรากฏเป็นระยะ 
     3.5 การปฏิบัติงานของเทศบาลที่ใช้จ่ายงบประมาณจากเงินภาษีของประชาชน ควรดำเนินการอย่างโปร่งใสโดยปฏิบัติอย่างเคร่งครัดขณะนี้มีกรณีที่ผู้บริหาร และสมาชิกสภาท้องถิ่นต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีพฤติการณ์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาจ้างกับท้องถิ่นจำนวนหลายราย

ดาวน์โหลดไฟล์ด้านล่าง :


เข้าชม : 760